วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567
SHARE

อาทิตย์หลายดวง

โพสต์โดย เพลิงไร้ควัน เมื่อ 14 มิถุนายน 2565 - 14:56

หลังจากที่ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Nueng Saksit โพสต์ภาพพร้อมคลิปถึงสถานการณ์สุดมหัศจรรย์ที่ราวกับว่าเกิดดวงอาทิตย์ 4 ดวงบนฟากฟ้าในเวลาเดียวกัน ระบุ “7:30 น โดยประมาณ ตื่นเต้นมาก ๆ ! ปรากฏการณ์นี้คืออะไรครับ เกิดวงแหวนและเหมือนมีดวงอาทิตย์ 4 ดวงเลย ต่างดาวบุกโลกหรือเปล่าเนี่ย! #เกิดอะไรขึ้นกับโลก” ทำเอาหลาย ๆ คนสงสัยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปรากฏการณ์คืออะไรกันแน่

ในเวลาต่อมา อ.เจษฎ์ หรือ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ออกมาโพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ไขข้อข้องใจในเรื่องปรากฏการณ์เสมือนมีดวงอาทิตย์ 4 ดวง

โดยระบุว่า "อันนี้เรียก ปรากฏการณ์ Sun Dog หรือ สุนัขของพระอาทิตย์ ครับ เป็นปราฏการณ์ธรรมชาติที่เห็นได้เรื่อย ๆ ในวันที่เมฆชนิดที่มีเกล็ดน้ำแข็งปะปนอยู่เยอะ จึงทำให้แสงอาทิตย์สะท้อนเป็นวงกลม เหมือนพระอาทิตย์ทรงกลด พระจันทร์ทรงกลดครับ เอาความรู้เรื่อง ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) จากเพจ Sci Math

บทความปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง โดย : ณัฐดนัย เนียมทอง กล่าวว่า การเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวงไม่ใช่เรื่องใหม่หรือตื่นเต้นอะไร เพราะจริง ๆ ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย เช่นตอนที่เราอยู่บนเครื่องบิน ในขณะที่เครื่องบินกำลังทะยานอยู่ในท้องฟ้า

ซึ่งเรามักได้ยินชื่อเรียกสั้น ๆ ของปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) ด้วยเหตุผลที่ว่าลักษณะแถบแสงที่เกิดขึ้นทั้งทางซ้ายและขวา ราวกับเป็นสุนัขข้างกายเจ้านายไม่หนีห่าง บ้างก็เรียกว่าดวงอาทิตย์จำลอง มีชื่อทางการว่า พาร์ฮีเลีย (Parhelia)

ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เกิดขึ้นได้อย่างไร นักวิชาการด้านดาราศาสตร์ให้ข้อมูลว่า ปรากฏการณ์ซันด็อกนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกเพียงเท่านั้นปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติตามหลักการของการหักเหของแสงอาทิตย์ ผ่านผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นหกเหลี่ยมในกลุ่มก้อนของเมฆ ซึ่งมักอยู่ในกลุ่มเมฆชั้นสูงที่เรียกว่า เซอร์รัส (Cirrus) ผลึกน้ำแข็งหกเหลี่ยมที่ว่า จะมีด้านกว้างขนานกับแนวระดับ โดยมีความสูงจากพื้นดินราว 10 กิโลเมตร

เมื่อแสงทำมุมกับผลึกน้ำแข็งของเมฆที่ 22 องศา โดยเมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนก็จะทำให้เกิดการสะท้อนเป็นคู่ในแนวระนาบขนานกับพื้นดิน แต่ดวงที่เป็นดวงสะท้อนจะมีลักษณะบิดเบี้ยวเป็นแค่กลุ่มก้อน มีแสงสีแดงไล่ไปจนถึงสีส้มจาง ๆ โดยซันด็อก (Sun Dog) มักเกิดในช่วงดวงอาทิตย์ใกล้ขอบฟ้า นั่นก็คือช่วงพระอาทิตย์ขึ้นกับพระอาทิตย์ตก และพบมากในฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะมีรายงานข่าวพบในต่างประเทศโซนประเทศที่มีภูมิอากาศเย็น มากกว่าประเทศไทย

จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นเป็นสำคัญได้ว่า ตัวแปรสำคัญนั่นคือลักษณะของแสงหรือลักษณะการหักเหของแสงที่ส่องเข้าไปยังผลึกน้ำแข็ง ซึ่งจริง ๆ แล้ว ในทางวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแสงนี้ว่า เป็นแสงกลุ่มเดียวกับที่เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด เพราะแสงจากดวงอาทิตย์อาจมีลักษณะการหักเหในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดรูปทรงกลดแบบอื่น ๆ

เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมชีนิคัล ที่เกิดจากการหักเหภายในผลึกรูปแผ่นทะลุออกทางผิวด้านข้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นโค้งหงายขึ้นสีรุ้งอยู่เหนือดวงอาทิตย์ และอีกหลายรูปแบบที่อาจพบได้ เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมฮร์ไรซัน วงกลมพาร์ฮีลิก พิลลาร์ ซับซัน ซับพาร์ฮีเลีย และเส้นโค้งโลวิตซ์ สามารถอ่านจากเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ บทความ อาทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลมทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลม

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ และ Nueng Saksit



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com