เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ระบุว่า จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 ประเทศไทยยังคงต้องเฝ้าติดตาม พายุลูกใหม่ หมุนเขตร้อนที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้

โดยอาจจะมีผลกระทบภาคใต้ตอนบนถึงภาคใต้ตอนกลาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องประสานข้อมูลการดำเนินการ อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมการเพื่อดูแลพี่น้องประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคาดการณ์สถานการณ์ "พายุลูกใหม่" ที่จะเกิดขึ้น พร้อมบูรณาการและเตรียมแผนการดำเนินงานและแผนเผชิญเหตุ น้ำท่วม ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถวางแผนในการดูแลประชาชนได้ อาทิ การพร่องน้ำ การระบายน้ำ การเก็บกักน้ำ การจูงน้ำในพื้นที่ไว้ล่วงหน้า

สิ่งสำคัญที่สุด คือ การระบายน้ำ ทั้งในพื้นที่ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกให้เกิดความสมดุล ตั้งแต่ภาคเหนือลงมายังภาคกลาง เพื่อไม่ให้เกิดการล้นตลิ่งหรือเกิดผลกระทบน้ำท่วมน้อยที่สุด ซึ่งในอนาคตจะต้องดำเนินการขุดลอกคลองหรือการสร้างประตูน้ำเพิ่มเติม
เพื่อลดความเดือดร้อนที่จะเกิดกับประชาชนให้น้อยที่สุด และขอเน้นย้ำให้ทุกพื้นที่เฝ้าระวัง เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ทำนบกั้นน้ำ ซึ่งขณะนี้ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่ก็ต้องมีการเตรียมการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา

สำหรับพื้นที่ กทม. ก็มีความห่วงใยพื้นที่ประสบปัญหา จึงขอให้ กทม. ต้องวางแผนในการบริหารจัดการเพราะต้องรับน้ำจากด้านเหนือทั้งพื้นที่ในคันกั้นน้ำ และพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย

สำหรับนโยบายในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ได้แก่
1. การพยากรณ์ โดยขอให้มีการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ น้ำท่วม และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนต่าง ๆ ทุกกลุ่มได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเร็วที่สุด
2. ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย น้ำท่วม ทุกระดับ ทุกกระทรวง/หน่วยงาน เตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกล สำหรับช่วยเหลือประชาชนตามแผนงานและแผนเผชิญเหตุ รวมถึงการกำจัดวัชพืช การจัดการขยะตามเส้นทางน้ำ การพร่องน้ำ การระบายน้ำ การเปิดทางน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดอุทกภัย

3. หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนและเส้นทางต่าง ๆ ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขปัญหาโครงการที่ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำในช่วงฝนตกหนัก และในอนาคตการสร้างถนนจะต้องไม่ขวางทางน้ำ และมีท่อสำหรับการระบายน้ำด้วย
4. การติดตั้งสัญญาณไฟจราจร ป้ายบอกทางในพื้นที่อุทกภัย น้ำท่วม ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดอุบัติเหตุในเส้นทาง และ
5. เมื่อสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วม คลี่คลาย ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเร่งให้ความช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์ฯ ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน
ขอบคุณ กระทรวงมหาดไทย PR