วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567
SHARE

บิ๊กป้อม บุก สุราษฎร์ธานี ลุยดันราคาปาล์มน้ำมัน

โพสต์โดย ลานตะเกียง เมื่อ 17 ตุลาคม 2565 - 16:00

วันนี้ (17 ต.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมีเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นำเสนอแผนงานด้านทรัพยากรน้ำและการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นำเสนอสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในประเทศ ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการการบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน พบปะประชาชนและเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน หลังจากนั้น ลงพื้นที่ติดตามโครงการระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี และติดตามโครงการแก้มลิงสระบัว ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร มอบหมายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการวางแผนและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้กำลังเข้าสู่ฤดูฝน โดยให้จังหวัด กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจจุดที่เสี่ยงน้ำท่วม สิ่งกีดขวางทางน้ำ โดยรายงานต่อคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อกำหนดมาตรการรองรับต่อไป

โดยให้จังหวัด กรมชลประทาน ปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจจุดที่เสี่ยงน้ำท่วม สิ่งกีดขวางทางน้ำ และรายงานต่อคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อกำหนดมาตรการรองรับต่อไป และมอบหมายให้กรมชลประทาน เร่งสำรวจและซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำและสถานีสูบน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และวางแผนเก็บกักน้ำไว้สำหรับฤดูแล้งหน้าด้วย ให้ สทนช. เร่งรัดขับเคลื่อนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม-น้ำแล้ง

เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำในระดับพื้นที่ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ และให้ทุกหน่วยงาน ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบเป็นการล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ทุกภาคส่วน บูรณาการพัฒนาปาล์มน้ำมันของ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมุ่งสู่ Oil Palm City ส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันยั่งยืน และมีการซื้อขายปาล์มน้ำมันที่เป็นธรรมให้เกษตรกร

สำหรับการลงพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ในวันนี้ พล.อ.ประวิตร ระบุว่า เพื่อต้องการมาเยี่ยมชาวสวนปาล์ม และมารับฟังปัญหาด้วยตัวเองในฐานะประธานกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ

ที่ผ่านมารัฐบาลมีผลงานอย่างต่อเนื่อง มีนโยบายและมาตรการต่างๆ ให้หน่วยงานดำเนินการจนสำเร็จเป็นรูปธรรม เช่น การนำน้ำมันปาล์มดิบในสต๊อกส่วนเกิน ราวๆ 3.6 แสนตัน ไปผลิตไฟฟ้า การเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซล ให้บี 10 เป็นน้ำมันดีเซลฐาน ในปี 2562 โดยใช้เงินกองทุนอุดหนุน แม้ว่าจากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนส่งผลให้น้ำมันมีราคาแพง จึงทำให้ต้องลดสัดส่วนเป็น บี 5 ชั่วคราว

ทั้งนี้ ตั้งแต่ 10 ต.ค. จนถึงสิ้น ธ.ค. 2565 ได้เพิ่มเป็น บี 7 และขยายเวลาให้ใช้เงินกองทุนอุดหนุนต่อไปอีก 2 ปี รวมถึงผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบให้ได้ 2 ล้านตันในช่วง 4 ปีนี้ พร้อมให้ดำเนินการติดมิเตอร์วัดน้ำมันปาล์มดิบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว จากสถิติข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เห็นว่า เดิมในปี 2562 ราคาปาล์มทะลายเฉลี่ย กิโลกรัมละ 3 บาทกว่า ปี 2564 เฉลี่ย กิโลกรัมละ 6 บาทกว่า และ 9 เดือนที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 8.50 บาท ซึ่งคาดว่าทั้งปี 2565 ราคาปาล์มทะลายเฉลี่ยจะอยู่ราวๆ 7.50-8.00 บาท และเมื่อประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจแล้วพบว่า ภาคใต้ที่มีการปลูกปาล์มจะมีเศรษฐกิจดีและเงินสะพัดอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2562 มูลค่าทางเศรษฐกิจเพียง 5 หมื่นล้านบาท ปี 2564 ขยับขึ้นเป็นหลักแสนล้านบาท คาดว่าปีนี้เงินจะสะพัดถึง 1.5 แสนล้านบาท

ขอบคุณ ไทยคู่ฟ้า 



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com