วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567
SHARE

ต้นไม้อันตราย! แพทย์เตือน ต้นตีนเป็ด หากสูดดมนาน อาจทำให้ระบบหัวใจล้มเหลว

โพสต์โดย เหยี่ยวตาเพชร เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565 - 18:06

เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก ต้นตีนเป็ด หรือ พญาสัตบรรณ หรือ สัตบรรณ หนึ่งในต้นไม้มงคล เป็นไม้ยืนต้นที่มักจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว และจะสิ่งกลิ่นแรงที่สุดในช่วงเดือน ตุลาคม - ธันวาคม และจะเริ่มออกดอกบานสะพรั่ง 

ล่าสุด น.ส. มยุรี บุญส่ง แพทย์แผนไทยชำนาญการ รพ.ตราด สาขาวัดไผ่ล้อม เปิดเผยว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้นตีนเป็ดออกดอก และจะส่งกลิ่นไปทั่วบริเวณ โดยเฉพาะในช่วงเย็นเป็นช่วงที่มีกลิ่นมากที่สุด ซึ่งต้นตีนเป็ดมีทั้งคุณและโทษ ประโยชน์คือสามารถนำเปลือกมาใช้เป็นยารักษาพิษไข้ต่าง ๆ ได้

ส่วนเรื่องของโทษนั้น ดอกที่ส่งกลิ่นแรงๆ เป็นกลิ่นของ "ไซยาไนด์" มีผลต่อระบบหัวใจโดยตรง และการหมุนเวียนของเลือดด้วย หากสูบดมนานๆ เกิดอาการเวียนหัว หน้ามืด บริเวณท้ายทอยจะมีอาการตึง อาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ระบบหัวใจอาจล้มเหลวได้

นางสาวมยุรี เตือนประชาชนว่า หากอยู่ใกล้กับต้นตีนเป็ด ควรหลีกเลี่ยงดีที่สุด ไม่แนะนำให้ดม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องใส่หน้ากากอนามัยจะช่วยลดการกลิ่น และหากเกิดการเวียนหัวโดยฉับพลัน ให้ใช้ยาดม ใช้น้ำเหลือง ช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน โดยทาบริเวณท้ายทอย และขมับ เพื่อให้เลือดลม เดินได้ตามปกติ

ขอบคุณ นางสาวมยุรี บุญส่ง แพทย์แผนไทยชำนาญการ



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com