วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
SHARE

จับตาโควิดระบาดรอบใหม่! ไทยส่อแววขาขึ้น คาดหลังปีใหม่ผู้ป่วยเพิ่ม

โพสต์โดย เหยี่ยวตาเพชร เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565 - 14:16

โควิดไทยส่อแววกลับมาเป็นขาขึ้น กรมควบคุมโรคระบุยอดติดเชื้อรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งผู้ป่วยใหม่เข้า รพ.-ปอดอักเสบ-ผู้เสียชีวิต มีแนวโน้มจะพุ่งสูงสุดหลังปีใหม่ 

สถานการณ์โควิดฯ ในไทยเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่า 2-3 สัปดาห์ก่อน ประมาณ 4-5% โดยเป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คาดการณ์ว่า ช่วงปลายปีซึ่งเป็นฤดูหนาว จะมีการติดเชื้อและป่วยด้วยโรคโควิดฯ เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเปิดเทอม รวมถึงมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ฮาโลวีน ลอยกระทง และต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเทศกาลปีใหม่

โดยวันนี้ (14 พ.ย.65) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานว่า 

ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 6 -12 พฤศจิกายน 2565 พบว่า...

ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 3,166 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 452 ราย/วัน

และผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 42 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 6 ราย/วัน

ขณะที่หายป่วยสะสม 2,474,938 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) เสียชีวิตสะสม

ขณะที่ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเปรียบเทียบอาการระหว่างสายพันธุ์ของโควิด 19 ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยระบุว่า...

“Whitaker M และคณะ จากสหราชอาณาจักร เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสาร Nature Communications เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา

ทำการศึกษาในกลุ่มประชากร 1,542,510 คน ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ตลอดช่วงการระบาดที่ผ่านมาตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิม อัลฟ่า เดลต้า และ Omicron BA.1 และ BA.2

เปรียบเทียบลักษณะอาการป่วย 26 อาการ ระหว่างสายพันธุ์ต่างๆ 

ชี้ให้เห็นว่าการติดเชื้อ Omicron มีโอกาสที่จะเกิดอาการป่วยมากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า

ทั้งนี้ อาการที่พบในสายพันธุ์ Omicron นั้น นอกจากที่เหมือนกับสายพันธุ์อื่นคือ ไข้ ไอ และปวดกล้ามเนื้อแล้ว อาการที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นคือ การเจ็บคอ เสียงแหบ ปวดหัว คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม

ในขณะที่ความผิดปกติของการรับรสและการดมกลิ่นนั้น ก็ยังเกิดขึ้นได้ แต่พบน้อยลงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า

...ข้อมูลข้างต้นจึงสะท้อนให้เราทราบธรรมชาติของโรคที่ประสบกันอยู่ และควรตระหนักถึงอาการข้างต้น หากใครป่วย มีอาการดังกล่าว ต้องนึกถึงโควิด-19 ด้วยเสมอ แยกตัวจากผู้อื่น และตรวจ ATK ด้วย เพื่อจะได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาได้ถูกต้อง ทันเวลา

...ระลอกปลายปีนี้ ไทยเราคงต้องระวัง เพราะปัจจัยพื้นฐานไม่เหมือนยุโรปและสิงคโปร์

ระลอกที่กำลังเผชิญนั้นช้ากว่าเขา 6-8 สัปดาห์ และตกอยู่ในช่วงที่คนจำนวนมากได้รับเข็มสุดท้ายมานานกว่า 6 เดือน

ความรู้จากงานวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้านี้ ที่เคยชี้ให้เห็นว่า ประสิทธิภาพวัคซีนในการลดความรุนแรงอาจคงอยู่ถึงประมาณ 7 เดือนแล้วจะถดถอยลงมาก

ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลไตรมาสปลายปี ที่เกิดกิจกรรมเสี่ยง แออัด และท่องเที่ยวกันมาก

จึงต้องช่วยกันป้องกันตัวสม่ำเสมอ ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนด 

ลดละเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี

โรงพยาบาลควรตรวจคัดกรองผู้ป่วยในก่อนรับเข้ารักษา เพื่อปกป้องผู้ป่วยทุกคนและบุคลากรทางการแพทย์ เรื่องนี้ควรถือเป็นสิทธิของทุกคนที่จะได้รับการดูแลคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย

คนติดเชื้อ ไม่สบาย ควรแยกตัวจากคนอื่น 7-10 วันจนดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจ ATK ได้ผลลบ 

สำคัญที่สุดคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ระหว่างใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน”

อย่างไรก็ตามทาง Jarm.com ขอประชาชนควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด นอกจากนี้การใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน หมั่นล้างมือ กินอาหารปรุงสุก จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

ขอบคุณ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , Thira Woratanarat 



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com