วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567
SHARE

กรมอุตุฯ เตือนไทยตอนบน-กลาง อากาศร้อนจัด ระวังฮีทสโตรก

โพสต์โดย กระสุนปุยเมฆ เมื่อ 5 พฤษภาคม 2566 - 11:56

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศคำพยากรณ์อากาศประจำวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566 ระหว่างเวลา 06.00 น. ของวันนี้ ถึง 06.00 น. ของวันพรุ่งนี้ อากาศร้อนจัด เตือนประชาชนดูแลสุขภาพ

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (5 พฤษภาคม 2566): ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า : ในช่วงวันที่ 5 - 7 พฤษภาคม 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้

ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 พฤษภาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป

ในช่วงวันที่ 5 - 11 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 8 - 11 พฤษภาคม 2566 และจะเคลื่อนขึ้นไปปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางในระยะถัดไป

ข้อควรระวัง: ในช่วงวันที่ 4 - 7 พฤษภาคม 2566 ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพ และระวังโรคลมแดดเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 พฤษภาคม 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ตลอดช่วง

ด้านพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 5-14 พฤษภาคม 2566 อัพเดท 2023050412 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :

5 - 7 พฤษภาคม 2566 บริเวณประเทศไทยตอนบนกลางวันยังร้อนและร้อนจัดบางพื้นที่ แต่ยังพอมีฝนบางแห่ง ลมตะวันตกยังพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ยังต้องเฝ้าระวังพายุฤดูร้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง (กทม.ปริมณฑล) และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ยังมีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ทำให้มีฝนบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งอันดามัน คลื่นลมมีกำลังอ่อนลง พี่น้องชาวเรือ ชาวประมง เดินเรือด้วยความระวัง

และตั้งแต่วันนี้ (5 พฤษภาคม 2566) ทิศทางลมแปรปรวน เริ่มมีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทิศทางของลม เป็นลมตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ (พัดจากทะเลอันดามัน เข้าสู่ฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันตก) กลุ่มฝนจะเริ่มเคลื่อนตัวจากทางด้านตะวันตก ไปทางตะวันออก และคาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวได้บริเวณทะเลอันดามัน (8-13 พฤษภาคม 2566) ประกอบกับมีมวลอากาศเย็นจากจีนและทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก แผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคอีสาน และมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะแรงขึ้น ต้องระวัง ในระยะนี้หากมีฝนตก ควรหาวิธีกักเก็บและสำรองน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย ซึ่งมีแนวโน้มช่วงฤดูฝนปีนี้ฝนจะน้อยกว่าค่าปกติ ต้องติดตามพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com