กรมอุตุนิยมวิทยา แถลงประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน จากกำลังมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้ พรุ่งนี้ 52 จังหวัด รวมถึง กรุงเทพมหานคร เตรียมรับมือฝนหนักได้เลย
โดยมีประกาศดังนี้ ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 4 (153/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 27 - 30 พฤษภาคม 2566)
วันที่ 28 พฤษภาคม 2566
ภาคเหนือ : จังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 27 พ.ค.-5 มิ.ย. 2566 อัพเดท 2023052612 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :
ช่วงวันที่ 27 - 30 พ.ค. 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มมีกำลังแรงขึ้น พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีเมฆมาก มีฝน/ฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และตกหนักบางแห่ง วิเคราะห์ลมระดับล่างได้เป็นแนวคุ้งหรือแนวโค้งของลมตะวันตกเฉียงใต้ และคาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก และเคลื่อนตัวปกคลุมบริเวณภาคกลาง กทม.และปริมณฑล
ฝนที่เกิดขึ้นในระยะนี้ยังเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากประเทศไทยยังมีอากาศร้อนตอนกลางวัน ต้องระวังฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่าได้ ส่วนการกระจายและปริมาณของฝนอาจจะยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และตกไม่สม่ำเสมอ ปริมาณฝนส่วนใหญ่เป็นฝนเล็กน้อย ถึงปานกลาง และมีตกหนักบริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑลในช่วงดังกล่าว
ช่วง 31 พ.ค.-5 มิ.ย. 2566 ยังมีฝนตกต่อเนื่อง เกิดขึ้นได้ช่วงบ่าย-ค่ำ บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ส่วนภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ฝนลดลงบ้าง ช่วงแรก
และจะกลับมาเพิ่มขึ้นปลายช่วง (1- 5 มิ.ย. 2566) ภาคใต้จะมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ห่างฝั่งคลื่นสูง ชาวเรือ ชาวประมงต้องเพิ่มความระมัดระวัง
สำหรับพายุไต้ฝุ่น "มาวาร์ (MAWAR)" บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือ (ห่างจากกรุงมนิลาประมาณ 1500 กม.) คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้บริเวณหัวเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปินส์ และเคลื่อนที่โค้งกลับไปทางทิศเหนือ ราววันที่ 28 -30 พ.ค. 2566 พายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย เพียงแต่จะดึงดูดให้มรสุมมีกำลังแรงขึ้น
(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา